รักษาภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายเพื่อสุขภาพที่ดีในวัยสูงอายุ

โดย : Admin Besinsthailand วันที่เผยแพร่ : 11 ตุลาคม 2567
โดย : Admin Besinsthailand วันที่เผยแพร่ : 11 ตุลาคม 2567
แชร์ข้อมูล
พร่องฮอร์โมนในชายสูงวัย

รักษาภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายเพื่อสุขภาพที่ดีในวัยสูงอายุ

“เพียงเพราะแก่ หรือ แค่พร่องฮอร์โมน”

เพียงเพราะอายุเพิ่มขึ้น ไม่ได้แปลว่าต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลงในร่างกาย ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย (Hypogonadism) เกิดขึ้นบ่อยในผู้ชายวัยสูงอายุ โดยเฉพาะฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่ลดลงอย่างมากเมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งการลดลงนี้อาจส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ความต้องการทางเพศลดลง, กล้ามเนื้อลีบ, อารมณ์หงุดหงิดง่าย หรือแม้แต่อาการซึมเศร้า นี่ไม่ใช่แค่ผลของความแก่ แต่เป็นสัญญาณของการพร่องฮอร์โมนที่ควรได้รับการรักษา

ฮอร์โมนเพศชายต่ำและภาวะพร่องฮอร์โมนในวัยสูงอายุ ในผู้ชายวัย 60 ปีขึ้นไป, 2 ใน 10 คนจะมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ และจำนวนนี้จะเพิ่มขึ้นถึง 50% ในผู้ชายที่อายุ 80 ปีขึ้นไป การลดลงของฮอร์โมนนี้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในร่างกายที่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาจเป็นสัญญาณของภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งการตรวจวัดระดับฮอร์โมนเป็นขั้นตอนสำคัญในการวินิจฉัยโรคนี้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและมีน้ำหนักเกิน

การรักษาฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน การรักษาภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายสามารถทำได้โดยการบำบัดด้วยฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone Therapy) ซึ่งสามารถช่วยฟื้นฟูสุขภาพและบรรเทาอาการที่เกิดจากการขาดฮอร์โมนได้อย่างรวดเร็ว วิธีการรักษามีหลากหลาย เช่น การทาผิวหนัง, ฉีดฮอร์โมน, หรือการใช้เม็ดฮอร์โมนใต้ผิวหนัง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกวิธีที่เหมาะสมและปลอดภัยที่สุด

ความสำคัญของการตรวจฮอร์โมนในวัยสูงอายุ หากคุณหรือคนที่คุณรู้จักมีอาการที่อาจเป็นผลจากภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย อย่ารอช้าที่จะปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจวัดและรับการรักษาอย่างเหมาะสม ซึ่งสามารถช่วยฟื้นฟูคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำได้

ผู้เขียน :

ผศ.นพ.ธนัญญ์ เพชรานนท์

อาจารย์แพทย์ศัลยศาสตร์ระบบทางเดินปัสสาวะ

โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

อ้างอิง

1. Harman SM, Metter EJ, Tobin JD, et al. 2001. Longitudinal effects of aging on serum total and free testosterone levels in healthy men. Baltimore Longitudinal Study of Aging. J. Clin. Endocrinol. Metab. 86:724–31.

2. Mulligan T, Frick MF, Zuraw QC, Stemhagen A, McWhirter C. Prevalence of hypogonadism in males aged at least 45 years: the HIM study. Int J Clin Pract. 2006 Jul;60(7):762-9.

3. BhasinS,BritoJP,CunninghamGR,et al.2018.Testosterone therapy in men with hypogonadism:an endocrine society clinical practice guideline. J. Clin. Endocrinol. Metab. 103:1715–44.

บทความที่น่าสนใจ

บทความที่น่าสนใจ