เรื่องที่ผู้ชายควรรู้: 12 สัญญาณบ่งบอกว่าคุณมีภาวะพร่องฮอร์โมน
ระดับฮอร์โมนเพศที่ลดลงในเพศหญิงนั้นจะเกิดขึ้นได้ และสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เห็นได้ชัดอย่างรวดเร็วในช่วงวัยหมดประจำเดือน แต่สำหรับเพศชายนั้นไม่มี สัญญาณพร่องฮอร์โมนเพศชาย ในเพศชายเราพบว่าระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนจะค่อยๆ ลดลงทีละน้อย เมื่อเวลาผ่านไป ผู้ชายที่อายุมากขึ้นก็มีแนวโน้มที่จะมีระดับฮอร์โมนเพศชายต่ำกว่าปกติได้มากขึ้น แต่ก็ไม่เสมอไป ทั้งนี้ผู้ชายที่มี ระดับฮอร์โมนเพศชายต่ำกว่า 300 นาโนกรัม/เดซิลิตร อาจมีอาการของภาวะฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับผู้ชายที่มีอายุน้อยเช่นกัน
นี่คือ อาการที่คุณอาจสังเกตด้วยตัวเองได้ 12 ข้อ ที่ถือเป็น สัญญาณของการเข้าสู่ ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย
- ความต้องการทางเพศลดลง
ฮอร์โมนเพศชายมีบทบาทสำคัญต่อความต้องการทางเพศในผู้ชาย ผู้ชายที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายจะมีความปรารถนาที่จะมีเพศสัมพันธ์ลดลงอย่างเห็นได้ชัด - อวัยวะเพศแข็งตัวลดลง
ฮอร์โมนเพศชายเป็นเพียงหนึ่งในหลาย ๆ ปัจจัยที่ช่วยในการแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย แต่หลายครั้งปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ก็มีบทบาททำให้การแข็งตัวของอวัยวะเพศลดลงได้เช่นกัน - ปริมาณน้ำอสุจิต่ำ
เทสโทสเตอโรนมีบทบาทในการผลิตน้ำอสุจิซึ่งเป็นของเหลวที่ช่วยในการเคลื่อนที่ของอสุจิ ผู้ชายที่มีภาวะฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนต่ำ หรือภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย มักจะสังเกตเห็นการลดลงอย่างชัดเจนของปริมาณน้ำอสุจิของตนเองในระหว่างการหลั่ง - ผมร่วง
ฮอร์โมนเพศชายมีบทบาทในการงอกของเส้นผม ศีรษะล้านเป็นส่วนหนึ่งของความแก่ชราตามธรรมชาติสำหรับผู้ชายหลายคน นอกจากจะเกิดจากการสืบทอดพันธุกรรมมาแต่กำเนิดแล้วนั้น ผู้ชายที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายก็อาจมีอาการผมหรือขนบนร่างกายร่วงอย่างเห็นได้ชัดเช่นกัน - ความเหนื่อยล้า
คุณรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลาแม้จะนอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่แล้ว หรือหากคุณพบว่าการสร้างแรงบันดาลใจในการออกกำลังกายเป็นเรื่องที่ทำได้ยากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน - การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ
เนื่องจากฮอร์โมนเพศชายมีบทบาทในการสร้างกล้ามเนื้อ ผู้ชายที่มีภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ อาจสังเกตเห็นมวลกล้ามเนื้อลดลงซึ่งอาจส่งผลต่อสมรรถภาพการทำงาน
- ปริมาณไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น
ผู้ชายที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายอาจมีปริมาณไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบางครั้งอาจมีอาการเต้านมโต ผลกระทบนี้เชื่อว่าเกิดจากความไม่สมดุลระหว่างฮอร์โมนเพศชายและฮอร์โมนเพศหญิง (เอสโตรเจน) ภายในผู้ชาย - มวลกระดูกลดลง
โรคกระดูกพรุนหรือมวลกระดูกบางลงเป็นภาวะที่มักเกิดกับผู้หญิง อย่างไรก็ตามผู้ชายที่มีเทสโทสเตอโรนต่ำก็สามารถสูญเสียมวลกระดูกได้เช่นกัน เพราะฮอร์โมนเพศชายช่วยในการผลิตและเสริมสร้างกระดูก ดังนั้นผู้ชายที่มีเทสโทสเตอโรนต่ำโดยเฉพาะผู้ชายที่มีอายุมากจะมีปริมาณมวลกระดูกลดลงและเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักได้ง่าย - อารมณ์เปลี่ยนแปลง
เนื่องจากฮอร์โมนเพศชายมีอิทธิพลต่อกระบวนการทางกายภาพหลายอย่างในร่างกายจึงสามารถส่งผลต่ออารมณ์และสมรรถภาพทางจิตใจ มีข้อมูลการศึกษาทางการแพทย์ชี้ให้เห็นว่าผู้ชายที่มีเทสโทสเตอโรนต่ำมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับภาวะซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย หรือขาดสมาธิ - ความสามารถในการจดจำลดลง
แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากระดับเทสโทสเตอโรนที่ต่ำลง และอายุที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน - ขนาดลูกอัณฑะเล็กลง
ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในร่างกายต่ำ อาจส่งผลให้อัณฑะมีขนาดเล็กกว่าค่าเฉลี่ยเมื่อเทียบกับผู้ชายที่มีระดับฮอร์โมนเพศชายปกติ - ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงต่ำ
อาการเม็ดเลือดแดงต่ำส่งผลให้เกิดความเสี่ยงของ “ภาวะโลหิตจาง” ที่อาจเป็นต้นเหตุของอาการ สมาธิลดลง, เวียนศีรษะ, ตะคริวที่ขา, นอนไม่หลับ และอัตราการเต้นของหัวใจที่เร็วผิดปกติขึ้นได้