ภาวะวัยทองหญิง: 11 คำถามที่ผู้หญิงทุกคนต้องรู้ 1
ภาวะหมดประจำเดือนหรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า ภาวะวัยทองหญิง (Menopuase) คือการที่เลือดประจำเดือนขาดหายเกิดขึ้นติดต่อกันเป็นระยะเวลา 1 ปี ในผู้หญิงแต่ละคนจะมีประสบการณ์วัยทองที่ช่วงอายุต่างกันออกไป ผู้หญิงบางคนอาจจะหมดประจำเดือนอย่างถาวร เนื่องจากการผ่าตัดเอารังไข่ทั้งสองข้างออก (Surgical menopause) นอกจากนี้ยังเกิดจากโรคหรือการใช้ยา เช่น โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน หรือจากการทำเคมีบำบัด (Chemotherapy) ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง
เมื่อคุณเป็นผู้หญิงที่มีอายุเริ่มเข้าสู่วัยทอง แน่นอนว่าย่อมมีคำถามมากมายเกิดขึ้นเกี่ยวกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงของร่างกายของคุณ และเหล่านี้คือคำถามที่ถูกถามบ่อยที่สุด
11 คำถามและคำตอบที่จะช่วยให้คุณเข้าใจภาวะวัยทองมากขึ้น และเตรียมร่างกายของคุณให้พร้อมเข้าสู่วัยทองอย่างมีคุณภาพ
-
ฉันจะเริ่มเข้าสู่ภาวะวัยทองเมื่อไหร่
51 ปี คืออายุโดยเฉลี่ยของการเข้าสู่ภาวะวัยทอง ผู้หญิงส่วนใหญ่จะขาดประจำเดือนในช่วงระหว่างอายุ 45 – 55 ปี ทั้งนี้ด้วยสภาพร่างกายที่แตกต่างกันไปของแต่ละคน วงจรไข่ตกในผู้หญิงบางคนอาจหยุดก่อนวัยอันควร ในขณะที่ผู้หญิงบางคนก็ยังมีประจำเดือนจนถึงปลายอายุ 50 ปี
-
ระยะก่อนหมดประจำเดือน (perimenopause) กับ วัยหมดประจำเดือน (menopause) ต่างกันอย่างไร
ระยะก่อนหมดประจำเดือนจะเกิดขึ้นก่อนวัยหมดประจำเดือน คล้ายสัญญาณเตือนล่วงหน้า เมื่อรังไข่ผลิตฮอร์โมนลดลง ผู้หญิงจะเริ่มมีอาการที่เกี่ยวข้องกับวัยทอง เช่น รู้สึกร้อนวูบวาบ มึนศีรษะ อ่อนเพลีย อารมณ์แปรปรวน รอบเดือนอาจจะมาขาด ๆ หาย ๆ แต่มันจะยังไม่หยุดในช่วงเวลาดังกล่าว ผู้หญิงจะเข้าสู่วัยทอง เมื่อรอบเดือนหยุดเป็นระยะเวลา 12 เดือนต่อเนื่องกัน
-
เมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายลดลง ผู้หญิงจะมีอาการอย่างไรบ้าง
ผู้หญิงประมาณร้อยละ 75 จะพบอาการรู้สึกร้อนวูบวาบทั้งตอนกลางวันและตอนกลางคืน ในผู้หญิงบางคนอาจจะมีอาการปวดกล้ามเนื้อและบริเวณข้อต่อ หรือมีอารมณ์แปรปรวน ทั้งนี้อาการต่าง ๆ เกิดขึ้นจากฮอร์โมนที่ผันแปรไปตามปัจจัยการใช้ชีวิต และกระบวนการแก่ชราของร่างกายแต่ละคน
-
อาการร้อนวูบวาบเป็นอย่างไร
คุณจะรู้สึกถึงอุณหภูมิในตัวสูงขึ้นฉับพลัน อาการร้อนวูบวาบจะเริ่มตั้งแต่ศีรษะลงไป ส่งผลให้ผิวของคุณเปลี่ยนเป็นสีแดง มีรอยจ้ำ อาการร้อนวูบวาบนี้อาจทำให้คุณเหงื่อออก ใจเต้น และวิงเวียนศีรษะ แล้วหลังจากนั้นคุณเปลี่ยนไปรู้สึกหนาว อาการร้อนวูบวาบอาจเกิดขึ้นวันละครั้งหรือหลาย ๆ ครั้ง ในเวลาตลอด 1 ปีหรือหลายปีติดต่อกัน
ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้รู้สึกร้อนวูบวาบที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่
-
- การดื่มแอลกฮอล์หรือกาแฟ
- การรับประทานอาหารรสจัด
- ความเครียด
- การอยู่ในที่ร้อน
- การมีน้ำหนักเกิน หรือการสูบบุหรี่ที่ทำให้อาการร้อนวูบวาบรุนแรงขึ้น
เทคนิคที่ช่วยบรรเทาอาการร้อนวูบวาบ
-
- แต่งตัวหลายชั้นเพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น
- ฝึกสังเกตลมหายใจ
อย่างไรก็ดีการใช้ยาคุมกำเนิด ฮอร์โมนทดแทน หรือยาอื่น ๆ สามารถบรรเทาอาการดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้ง
-
-
อาการวัยทองส่งผลต่อกระดูกอย่างไร
ปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงส่งผลต่อปริมาณแคลเซียมในกระดูก ทำให้กระดูกมีความหนาแน่นน้อยลง ส่งผลให้เกิดสภาวะโรคกระดูกพรุน ซึ่งจะทวีความรุนแรงในช่วงไม่กี่ปีหลังการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย
สิ่งที่ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรงยิ่งขึ้น- การกินอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม หรือใบผักสีเขียว
- การกินวิตามินดี
- ลดการดื่มแอลกฮอล์
- งดการสูบบุหรี่
- พบแพทย์เมื่อต้องการยาที่ช่วยป้องกันการสูญเสียกระดูก
-
โรคหัวใจเกี่ยวข้องกับภาวะวัยทองหรือไม่
ภาวะวัยทองเชื่อมโยงกับอาการที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ เช่น วิงเวียนศีรษะ หรือใจสั่น ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงส่งผลหลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น ซึ่งส่งผลต่อการหมุนเวียนของเลือด
การควบคุมน้ำหนัก การรับประทานอาหารที่สมดุลและดีต่อสุขภาพ การออกกำลังกาย และการงดสูบบุหรี่ช่วยส่งเสริมให้อาการต่าง ๆ เกี่ยวกับหัวใจดีขึ้น
สำหรับคำถามที่เหลือพบกันใหม่ใน ตอนถัดไปค่ะ
ข้อมูลอ้างอิง :
http://healthydee.moph.go.th/view_article.php?id=1156
https://www.healthline.com/health/menopause/menopause-facts#_noHeaderPrefixedContent