เบาหวานขณะตั้งครรภ์คืออะไร?
เบาหวานขณะตั้งครรภ์เป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเนื่องจากภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งพบได้ประมาณ 5.8% ของคุณแม่ตั้งครรภ์ทุก 100 คน ปัจจัยเสี่ยงของภาวะนี้รวมถึงอายุที่มากกว่า 35 ปี ประวัติเบาหวานในครอบครัว และน้ำหนักเกิน ซึ่งทั้งหมดมีผลโดยตรงต่อสุขภาพของแม่และทารก
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์
1. อายุเกิน 35 ปี
2. มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน
3. ดัชนีมวลกายเกิน 30
4. คลอดบุตรน้ำหนักเกิน 4,000 กรัม
5. มีโรคประจำตัวเช่น PCOS หรือความดันโลหิตสูง
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
สำหรับแม่: ความเสี่ยงในการเกิดความดันโลหิตสูง การคลอดก่อนกำหนด การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และการเป็นเบาหวานถาวรหลังการตั้งครรภ์
สำหรับทารก: ความเสี่ยงต่อการเจริญเติบโตผิดปกติ ทารกตัวโตเกิน และความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตัวเหลือง น้ำตาลต่ำ และหายใจลำบากหลังคลอด
การตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์
แนะนำให้คุณแม่ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการตรวจคัดกรองน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ช่วง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนและดูแลสุขภาพทั้งแม่และทารกในระยะยาว
ในตอนต่อไปเราจะกล่าวถึงแนวทางการปฏิบัติตัวและการดูแลสุขภาพหากคุณแม่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ผู้เขียน :
ผศ.นพ.เกียรติศักดิ์ คงวัฒนกุล
หน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์
ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น